วิชาโครงงาน(คอมพิวเตอร์)

โครงงานคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โครงงานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


ชื่อโครงงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบริเวณชายหาดซันไรซ์
ผู้จัดทำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ครอบครัวที่ 2752
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์สัมพันธ์ ดำเพ็ง
ที่มาและความสำคัญของโครงการ
ในปัจจุบันบริเวณชายทะเลส่วนใหญ่มักจะมีการเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งจากการเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เหล่านี้ สิ่งที่ตามมาจากการเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวก็ คือ ปัญหาหาขยะที่เพิ่มมากขึ้นจากการที่นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวยังสถานที่เหล่านี้ ซึ่งปัญหานี้จะส่งผลทำให้เกิดมลพิษทั้งทางน้ำและทางอากาศ เช่น เป็นการทำลายที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำทะเลและบนบก ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของสัตว์ต่างๆ และยังเป็นการทำให้พื้นที่บริเวณชายหาดนั้นสกปรก พวกเราในฐานะเยาวชนในท้องถิ่นมียังคงคำนึงถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ ก็มีความคิดเห็นว่าเราควรที่จะพัฒนาบริเวณชายหาดให้มีความสวยงามดังเดิม เพื่อเป็นการอนุรักษ์รักษาสถานที่ท่องเที่ยวเหล่านี้ให้คงอยู่ตลอดไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.) เพื่อเป็นการอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายหาด
2.) เพื่อรักษาสิ่งมีชีวิตบริเวณชายทะเลไม่ให้สูญพันธ์
สมมุติฐานของโครงงาน
การทำโครงงานชิ้นนี้จะทำให้บริเวณชายหาดมีความสวยงามและสะอาดขึ้น รวมทั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่ชื่นชมของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว
ขอบเขตของการศึกษา
หาดซันไรซ์ หมู่ที่ 5 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ระยะเวลาในการศึกษา
วันที่ 5 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 - วันที่ 1 เดือนกันยายน พ.ศ. 2553
วิธีการดำเนินการ
1.) ประชุมเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2.) เลือกพื้นที่ที่จะใช้ในหารทำโครงงาน
3.) ศึกษาขั้นตอนในการทำโครงงานที่เลือก
4.) วางแผนการปฏิบัติงาน
5.) จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
6.) ลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้
7.) สรุปผลการทดลอง

ผลที่ได้รับจากการทำโครงงาน
1.) เป็นการอนุรักษ์รักษาธรรมชาติบริเวณชายหาด
2.) เป็นการรักษาสิ่งมีชีวิตบริเวณชายทะเล

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ในเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า...
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หมายถึงการใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยความชาญฉลาดและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ให้มากที่สุดและมีระยะเวลาในการใช้งานยาวนานที่สุด
สังคมไทยเราแต่โบราณก็ได้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ อาทิ เกษตรกรรมได้มีการเพาะปลูก ทำนา โดยใช้วัว ควายเป็นแรงงานในการไถพรวนและเลี้ยงตามไร่ตามท้องนา ซึ่งก็ท่ากับว่าเป็นการเพิ่มปุ๋ยให้แก่พื้นดินจากมูลสัตว์เหล่านั้น ในขณะเดียวกันคนในสมัยก่อนจะไม่มีการจับปลาในวันพระตามสระน้ำในวัด ยิงนก ล่าสัตว์ ในบริเวณป่าตามวัด เป็นต้น
ประเภทของสิ่งแวดล้อมที่ควรอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นทุกส่วนทุกอย่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ หากส่วนหนึ่งส่วนใดถูกกระทบทำลาย ก็จะก่อให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งอาจแยกสิ่งแวดล้อมได้เป็นประเภทใหญ่สำหรับการอนุรักษ์ได้ดังนี้
1. ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า น้ำ ดิน อากาศ มนุษย์ และพื้นที่ธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้
1.1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่รู้จักหมด
1.2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วนำมาใช้ใหม่ได้
1.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป
2. ธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์ หมายถึง ธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิทยาการและสุนทรียภาพที่เกี่ยวข้องเป็นสัณฐานที่สำคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์อันเป็นเอกลักษ์หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ซึ่งจำแนกลักษณะได้ดังนี้
2.1 เกาะและแก่ง
2.2 ภูเขา ถ้ำ น้ำตกและน้ำพุร้อน
2.3 ทะเลสาบ หนองและบึง
2.4 หาดทราย และหาดหิน
2.5 แหล่งที่มีซากดึกดำบรรพ์ (พืชและสัตว์) สุสานหอย 75 ล้านปี
2.6 สัณฐานอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางธรณี สัณฐานวิทยา และภูมิลักษณวรรณนา เช่น เขาพิงกัน แพะเมืองผี
3. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และระบบสังคมต่าง ๆ
ความจำเป็นที่ต้องมีการอนุรักษ์
ในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ชาติ เพื่อแสวงหาการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาตินั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงความจริงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้นคือ ขีดจำกัดของทรัพยากรสมดุลของระบบนิเวศความเป็นมาของด้านวัฒนธรรมรวมถึงความต้องการของมนุษย์ในอนาคต ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "อนุรักษ์"
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 4 ประการ คือ
1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งปัจจัยสำคัญของระบบสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสัตว์ และระบบสนับสนุนการดำรงชีวิต เป็นการปรับปรุงป้องกันพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก การหมุนเวียนแร่ธาตุอาหารพืช ตลอดจนการทำน้ำให้สะอาด
2. เพื่อสงวนรักษาการกระจายของชาติพันธุ์ ซึ่งขึ้นกับโครงการขยายพันธุ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการปรับปรุงการป้องกันธัญญพืช สัตว์เลี้ยง และจุลินทรีย์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีตลอดจนการคุ้มครองอุตสาหกรรม นานาชาติที่ใช้ทรัพยากรที่มีชีวิตเป็นวัตถุดิบ
3. เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้พันธุ์พืชสัตว์และระบบนิเวศเพื่อประโยชน์ในการยังชีพตามความเหมาะสม
4. เพื่อสงวนรักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าไว้ไปยังอนุชนรุ่นหลังรวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น
จากวัตถุประสงค์การอนุรักษ์ดังกล่าวเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้เนื่องจาก
1. ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความจำเป็นในการยังชีพและการพัฒนา
2. ความต้องการที่จะกำหนดวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาการอนุรักษ์ที่สำคัญ
3. สมรรถภาพของการอนุรักษ์ทั่วประเทศและระหว่างประเทศยังขาดจากการจัดการและประสานงานที่ดี
4. โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม ได้ถูกทำลายอย่างมาก จากการกระทำของมนุษย์ จากการพัฒนาต่าง ๆ
หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะต้องครอบคลุมปัญหาใหญ่ คือปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมถูกทำลาย ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าวมีความสำคัญซึ่งตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาก็คือมนุษย์นั้นเอง สำรหรับแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปนั้นสามารถกระทำได้โดยกว้าง ดังนี้
1.การให้การศึกษาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพราะการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง ๆ นั้นมิใช่การหยุดการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือการปฏิเสธเทคโนโลยี แต่ความสำคัญนั้นอยู่ที่การเปลี่ยนทัศนคติของคนเพื่อให้เขาสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทิศทางส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยวิธีการทุก ๆ ชนิดรวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เข้าถึงตัวประชาชนให้มากที่สุด
2. การปรับปรุงคุณภาพ เป็นวิธีการตรงที่ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและภาวะแวดล้อมเสื่อมโทรม
3. การลดอัตราการเสื่อมสูญ การบริโภคของมนุษย์ในปัจจุบันในหลายประเภทมักจะบริโภคทรัพยากรกันอย่างฟุ่มเฟือยและไม่ค่อยได้ใช้ให้อยู่ในขอบเขตจำกัด มักจะมีทัศนคติต่อการบริโภคในลักษณะที่ว่าสามารถบริโภคได้สูงสุดจะทำให้มีความสุขที่สุด ทัศนคติเช่นนี้จะทำให้ป่าไม้ถูกทำลายเช่น การตัดหนึ่งต้นแทนที่ใช้ประโยชน์จากต้นไม้ทุก ๆ ส่วนแต่กลับใช้ประโยชน์ เฉพาะส่วนที่เป็นต้นเท่านั้นที่เหลือ เช่น กิ่ง ใบ หรือ ส่วนอื่น เช่นส่วนที่เป็นตอมักจะถูกทิ้งไป อันที่จริงแล้วส่วนเหล่านี้สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น ไม่ควรทิ้งขว้าง เป็นต้น
4. การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ การผลิตวัสดุเครื่องใช้ต่างๆ ย่อมมีส่วนเป็นเศษเรียกกันว่าเศษวัสดุ เช่น เหล็ก อลูมิเนียม สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว พลาสติก กระดาษ สิ่งเหล่านี้สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่อีก โดยเก็บรวบรวมแล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่อีกโดยเก็บรวบรวมแล้วนำเอาไปหลอมใหม่
5. การใช้สิ่งทดแทน ทรัพยากรที่ใช้ประโยชน์ได้ดีในอดีตเริ่มร่อยหรอลง เนื่องจากความต้องการเกี่ยวกับการบริโภคสูงนั้นเอง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา เพื่อหาลู่ทางนำทรัพยากรอื่น ที่มีคุณภาพเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาทำหน้าที่ในงานประเภทเดียวกัน
6. การใช้สิ่งที่มีคุณภาพรองลงมา ธรรมชาติทรัพยากรชนิดเดี่ยวกันอาจมีคุณภาพแตกต่างกันออกไป เช่น พันธุไม้ในป่าซึ่งมีมากมายมีคุณภาพแตกต่างกันออกไปบางชนิดมีเนื้อไม้แข็งเมื่อนำมาแปรรูปก็จะได้ไม้ที่มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ มนุษย์จึงนิยมเลือกไม้เหล่านี้มาใช้ประโยชน์ก่อน นานเข้าไม้เหล่านี้ค่อยร่อยหรอลงจนเกือบจะหมด ดังนั้นแนวทางหนึ่งของการแก้ปัญหาก็คือ การใช้ไม้ที่มีคุณภาพรองลงมา โดยการนำไม้ที่มีคุณภาพรองลงมานั้นไปอบน้ำยาหรืออาบน้ำยาทั้งนี้เพื่อรักษาคุณภาพของไม้ให้ทนทาน ป้องกันปลวก มอด เชื้อรา ซึ่งมีส่วนทำให้ไม่ผุกร่อน ให้ใช้ได้นาน เทียบเท่ากับไม้เนื้อแข็งที่หมดไปในบางประเทศ ไม้ที่จะนำมาก่อสร้างจะต้องอาบน้ำยาเสียก่อนโดยเขาออก กฎหมายบังคับกันเลยทีเดียว
7. การสำรวจหาทรัพยากรใหม่ ๆ ปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีการค้นหาทรัพยากรมาใช้กันมากมายแล้วก็ตาม แต่ทรัพยากรในธรรมชาตินั้นยังมีอยู่อีกมากมาย ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าหากมีการสำรวจกันอย่างจริงจังก็น่าจะพบทรัพยากรที่สามารถนำใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพของมนุษย์อยู่อีกมาก
8. การป้องกัน เป็นวิธีการจัดการโดยตรงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมร่อยหรอรวดเร็วเกินไปหรือป้องกันมลสารหรือวัตถุเป็นพิษไม่ให้แปดเปื้อนสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัย รวมทั้งโบราณสถานโบราณวัตถุในกรณีที่บรรยากาศมีก๊าซพิษหรือสารพิษเจือปนน้ำไม่สะอาดไม่สามารถใช้บริโภคได้เพราะมีสิ่งแปลกปลอมขึ้นในรูปของสารพิษและเชื้อโรคสิ่งเหล่านี้ย่อมอยู่ในสิ่งแวดล้อม

แสดงความคิดเห็น